วิสัยทัศน์/ยุทธศาสตร์การพัฒนา

ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

           วิสัยทัศน์

                  “เทศบาลตำบลบ้านสา องค์กรแห่งการพัฒนาบริการสาธารณะคุณภาพ ประชาชนคุณภาพชีวิตดี”

องค์กรแห่งการพัฒนาบริการสาธารณะ หมายถึง เทศบาลตำบลบ้านสา เป็นองค์กรที่พัฒนาและใกล้ชิดประชาชนมีการขับเคลื่อนภารกิจด้านการบริการสาธารณะทั้ง 8 ด้าน โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การมีส่วนร่วมของประชาชน หลักธรรมาภิบาล ประชาชนมีความรักสามัคคี ประชาชนตำบลบ้านสาดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

                     พันธกิจ

  1. สร้างสังคมตำบลบ้านสาให้เป็นสังคมแห่งคุณภาพชีวิตที่ดี ประชาชนได้รับบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง ภายใต้หลัก
    ธรรมาภิบาล
  2. พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลบ้านสาให้มีภูมิคุ้มกัน มีทักษะการดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม
  3. การให้บริการประชาชนบนพื้นฐานอำนาจ หน้าที่ หลักกฎหมาย ประชาชนได้รับบริการสาธารณะมีความพึงพอใจ

                     เป้าประสงค์

ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา
1. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 1.1 การก่อสร้าง/การปรับปรุง/การบำรุงรักษาถนน สะพาน
และการบำรุงสายทางอื่น
1.2 การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคสาธารณูปการและแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร
1.3 การไฟฟ้าสาธารณะ
1.4 การผังเมือง
2. ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

และสิ่งแวดล้อม

2.1 การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม2.2 การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การเฝ้าระวังและการป้องกัน การ
รักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ด้านการพัฒนาสังคม/ชุมชน 3.1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน
3.2 การสนับสนุนการศึกษาและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพ             ทรัพยากรมนุษย์
3.3 การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
3.4 การป้องกัน การรักษาและการส่งเสริมสุขภาพอนามัย
ของ ประชาชน
3.5 การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
4. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ 4.1 การส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน
4.2 การส่งเสริมการใช้สินค้าท้องถิ่นและการตลาด
4.3 การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง
5. ด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร 5.1 การพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น
5.2 การพัฒนางาน เครื่องมือ เครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน

 

 ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

กลยุทธ์

  1. การก่อสร้าง การปรับปรุง การบำรุงรักษาถนน สะพานและการบำรุงสายทางภายในตำบล (เพื่อให้ประชาชนมีความสะดวกในการเดินทาง มีความปลอดภัย)
  2. การพัฒนาด้านสาธารณูปโภคสาธารณูปการและแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตร (เพื่อการประกอบอาชีพและใช้ในชีวิตประจำวัน การพัฒนาระบบประปาหมู่บ้านให้มีมาตรฐานและทั่วถึงการพัฒนาระบบส่งน้ำเข้าสู่พื้นที่การเกษตร)
  3. การไฟฟ้าสาธารณะ (เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะด้านไฟฟ้าอย่างทั่วถึง)
  4. การผังเมือง (ประสานการทำงานกับส่วนราชการและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในการจัดระบบผังเมืองให้ถูกต้องตามข้อระเบียบ/กฎหมาย)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กลยุทธ์

  1. การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การประชุม การฝึกอบรม การสัมมนา การให้ความรู้ การสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การเก็บ การทิ้ง การขนขยะที่ถูกวิธี การพัฒนาองค์ความรู้ในการใช้และจัดการเศษวัสดุทางธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด ฯลฯ เพื่อคงไว้ซึ่งความสมดุลของระบบนิเวศน์และไม่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชน)
  2. การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การเฝ้าระวังและการป้องกัน การรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กิจกรรมปลูกป่า การทำแนวกันไฟ การสนับสนุนกิจกรรมการเฝ้าระวังและแก้ปัญหาหมอกควันไฟป่าโดยชุมชน กิจกรรมการกำจัดขยะ การรักษาดูแลแม่น้ำ กิจกรรมอื่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการจัดการมลพิษ และการจัดการปัญหาขยะให้เกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมโดยเน้นการบูรณาการการตกลงร่วมกันการมีส่วนร่วมระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาชน)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาสังคม/ชุมชน

           กลยุทธ์

  1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน (การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยให้ได้รับการบริการสาธารณะที่เหมาะสม การสร้างสังคมผู้สูงอายุที่มีคุณค่าและถ่ายทอดองค์ความรู้คู่ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้กับคนรุ่นหลัง การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันครอบครัว สถาบันทางสังคมอื่นๆ ส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชน สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงบริการของรัฐ โดยประสานการทำงานร่วมกับส่วนราชการ องค์กรภาคเอกชน องค์กรภาคประชาชน)
  2. การสนับสนุนการศึกษาและส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ (ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาของเยาวชนและประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้ชีวิต การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  3. การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น (ส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนเกิดความรัก ความภาคภูมิใจ การอนุรักษ์และเผยแพร่ให้ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่คู่กับตำบลบ้านสาและจังหวัดลำปางตลอดไป)
  4. การป้องกัน/การรักษาและส่งเสริมสุขาพอนามัยของประชาชน (ส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกาย เพื่อให้มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ แข็งแรง ลดภาวการณ์เกิดโรคจากพฤติกรรม การส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ในเรื่องการรักษาสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชน การส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขของรัฐ โดยดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสา ส่งเสริมการป้องกันรักษาสุขภาพของประชาชนผ่านการแพทย์ภูมิปัญญาไทยและการแพทย์ทางเลือก)
  5. การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน (ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี การเข้าถึงบริการของรัฐ การจัดระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อพัฒนาสังคม/ชุมชน การพัฒนาระบบเครือข่ายทางสังคมที่ใช้เป็นช่องทางในการติดต่อประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลในการพัฒนาและการสร้างเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน การสร้างความเสมอภาค การสร้างจิตสำนึกการเป็นพลเมืองที่ดี การป้องกันบรรเทาสาธารณภัย การรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคมชุมชน การป้องกันรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนการมีส่วนร่วมของประชาชน ฯลฯ โดยบูรณาการงานร่วมกับส่วนราชการ ภาคเอกชนและภาคประชาชน)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ

           กลยุทธ์

  1. การส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน (การส่งเสริมการขายสินค้าออนไลน์ การส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจตามทิศทางการตลาด การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มมูลค่าทางการผลิต การส่งเสริมให้ประชาชนรู้จักใช้ทรัพยากรต้นทุนให้เหมาะสมกับพื้นที่ การส่งเสริมการผลิตอาหารปลอดภัย เกษตรปลอดสารพิษและเกษตรอินทรีย์ การปลูกและแปรรูปสมุนไพรไทย การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนประกอบอาชีพเสริมที่สร้างรายได้ให้กับตนเอง ครอบครัว การส่งเสริมอาชีพที่สร้างเศรษฐกิจให้สังคม ชุมชน การเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่น)
  2. การส่งเสริมการใช้สินค่าท้องถิ่นและการตลาด (ส่งเสริมให้ประชาชนใช้สินค้าที่ผลิตในชุมชนท้องถิ่นของตนเอง ทั้งสินค้าเกษตร สินค้าเซรามิค สินค้าหัตถอุตสาหกรรมที่ผลิตในจังหวัดลำปาง การจัดหาสถานที่จำหน่ายสินค้าจากชุมชนในระดับอำเภอและระดับจังหวัด รวมไปถึงการส่งเสริมกิจกรรมทางด้านการตลาดและช่องทางใหม่ๆ ในการกระจายสินค้า การประชาสัมพันธ์การใช้สินค้าชุมชนท้องถิ่น การจัดแสดงสินค้าชุมชนท้องถิ่นจังหวัดลำปาง)
  3. การส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง (พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการท่องเที่ยว การสร้างกิจกรรมการท่องเที่ยวหลากหลายมิติให้แตกต่างจากรูปแบบเติมๆ การสร้างงานให้คนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมกับนักท่องเที่ยวในกิจกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่น การส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เน้นอัตลักษณ์ที่จะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนท้องถิ่น กิจกรรมการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเส้นทางที่มุ่งสู่แหล่งท่องเที่ยว)

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการบริหารและพัฒนาองค์กร

           กลยุทธ์

  1. การพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น (พัฒนาและส่งเสริมให้บุคลากรของเทศบาลตำบลบ้านสา มีความรู้ ความสามารถ มีทักษะในการปฏิบัติงาน มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ มีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน มีความเชื่อมั่น มีความจงรักภักดีและมีความภาคภูมิใจในองค์กร ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีความพร้อมที่จะปฏิบัติงานอยู่เสมอ)
  2. การพัฒนางาน เครื่องมือ เครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน (การพัฒนาระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศมาให้บริการประชาชนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในลักษณะ e-Service เช่น ระบบชำระภาษี ระบบศูนย์ข้อมูลข่าวสาร การพัฒนาระบบเว็บไซต์และเครือข่ายสังคมที่ใช้เป็นสื่อกลางในการติดต่อกับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ การบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลในการพัฒนาให้ครอบคลุมทั้งหน่วยงานภาครัฐ/เอกชน/ประชาชนสร้างระบบฐานข้อมูลตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถบูรณาการและสนับสนุนการทำงานที่ก่อให้เกิดประโยชน์สาธารณะ เช่น การประชุมทางไกล รวมไปถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถจัดการ เรียกใช้และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงภูมิศาสตร์ที่ต้องการ รวมไปถึงการส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความพร้อมของสถานที่ปฏิบัติงาน เช่น อาคารรองรับการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชน การจัดหาสถานที่รองรับภารกิจต่างๆ การจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ เพื่อรองรับภารกิจการให้บริการสาธารณะในอนาคต